ข่าวสารสำนักงาน

กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย
ของ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน กันว่าคืออะไร?
เพื่อที่ว่าเราจะเข้าใจบทบาทรวมถึงบริบทกันได้มากขึ้น
สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาว่าจะแบ่งสิทธิ์การถือครองร่วมในที่ดินอย่างไร?
ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ

กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน

หมายถีง นิติกรรมการซื้อการขายหรือเป็นการให้ในที่ดินซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้นั่นก็คือ เป็นการขายหรือให้ในบางส่วนโดยให้สังเกตดูตรงรายชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดินว่าจะมีชื่อเจ้าของที่ดินร่วมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น ที่ดิน 100 ไร่ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน

.

การถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน แบบต่างๆ มีแบบไหนบ้าง ?

  1. การแบ่งที่ดินในแบบรวมๆ
    ผู้ร่วมจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาติจากผู้ร่วมคนอื่นๆลักษณะการแบ่ง โดยการแบ่งชัดเจนด้วยสัดส่วนคิดเป็น %เช่น มีบุตร 3 คน นั่นก็คือ นางสาวเอ นายบี นายซีแต่ในขณะนั้น บิดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ทำเรื่องโอนที่ดินเป็นเรื่องเป็นราวดังนั้น ความต้องการที่จะให้มีการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินถึงเกิดขึ้นโดยมีรูปแบบง่ายๆ นั่นก็คือสมาชิกที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์มาตกลงและคุยกันก่อนว่ารู้สึกพอใจกับการแบ่งรูปแบบนี้หรือไม่? ยกตัวอย่าง ที่ดินมีพื้นที่ทั้งหมด 100 ไร่เราจะแบ่งกันถือครองที่ดินร่วมในแต่ละคนๆ ละกี่เปอร์เซ็นต์กันดี?เช่น แบ่งกันคนละ 25% เป็นต้น
  2. แบ่งด้วยการบอกขนาดการถือครอง เช่น คนละกี่ตารางวา / คนละกี่ไร่การให้เป็นเปอร์เซ็น บางครั้งอาจดูไม่ชัดเจนและคลุมเครือหลายคนถึงเลือกที่จะแบ่งเป็นขนาดการถือครองแทน เช่น ในที่ดิน 100 ไร่ มีบุตร 4 คนอาจจะให้ถือครองกันคนละ 25 ไร่ เป็นต้น ซึ่งการบอกเป็นขนาดที่ดินจะค่อนข้างมีความชัดเจนในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการนำที่ดินไปขาย ผู้ครอบครองสามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ตัวเองถือครองได้เช่น การเกษตร ปล่อยเช่าที่ดิน ทำสิ่งปลูกสร้างหรืออื่นๆ
    โดยไม่ส่งผลกระทบต่อที่ดินด้านข้างๆ ที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมซึ่งโดยปกติจะมีการคุยกันอยู่ก่อนแล้วว่าสมควรนำที่ดินร่วมแปลงนั้นไปทำอะไรบ้าง
  3. แบ่งชัดเจนด้วยขอบเขต ไม่ระบุหารตามจำนวนผู้ถือร่วม การแบ่ง คือหารเท่า ๆ กันก็นับว่าเป็นการแบ่งชัดเจนด้วยขอบเขตก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการบริหารที่ดินที่น่าสนใจพอๆ กับการแบ่งที่ดินเป็นเปอร์เซ็นหรือแบ่งตามสัดส่วนซึ่งความแตกต่างในกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีเพียงแค่จะไม่มีการกำหนดว่าใครได้พื้นที่การถือครองไปเท่าไหร่? หากเป็นการใช้ขอบเขตที่ดินทั้งหมดใน 1 แปลงให้มาถือครองร่วมๆ กันเช่น ที่ดิน 1 แปลงมาพร้อมสวนยางพารา ถ้าต้องการจะใช้กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน
    ก็สามารถไปดำเนินเรื่อง ณ กรมที่ดินได้โดยต้องมีโฉนดที่ดินตัวจริงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารจำเป็นอื่น ๆ ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น